top of page
Farm

โครงการ Cluster Farms

ระยะที่ 1

โครงการความร่วมมือเยอรมัน-ไทย
เพื่อส่งเสริมการพัฒนากลุ่มเกษตรแปลงใหญ่
ในประเทศไทยอย่างยั่งยืน

แม้ว่าประเทศไทยจะเปลี่ยนจากเศรษฐกิจที่พึ่งพาภาคเกษตรกรรมไปสู่ระบบเศรษฐกิจเกิดใหม่ แต่ประชากรวัยทำงานส่วนใหญ่ยังคงต้องพึ่งพาอาศัยการประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมเพื่อหารายได้ อย่างไรก็ตามผลผลิตที่เกิดจากประสิทธิภาพที่ต่ำของผืนดิน 2 ใน 3 ของพื้นที่ทำการเกษตร ส่งผลให้เกษตรกรมีกำไรไม่เพียงพอและยังต้องเผชิญกับภาวะหนี้สูง เพื่อแก้ไขปัญหานี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย (MoAC) ได้นำเสนอแนวคิด 'การเกษตร 4.0' ในแผนพัฒนายุทธศาสตร์ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกษตรกรไทยได้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น มีความรู้ความชำนาญที่เฉพาะเจาะจง และได้รับการสนับสนุนทางการเงิน โดยสนับสนุนให้มีการจัดตั้ง 'กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ (Cluster farms)' เพื่อเพิ่มจำนวนผลผลิต ลดต้นทุน และสร้างความมั่นคงของตลาดพืชผลเฉพาะนั้นๆ

ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์นี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย (MoAC) และกระทรวงอาหารและการเกษตรของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMEL) ได้ริเริ่มโครงการระยะแรกคือ 'โครงการความร่วมมือเยอรมัน-ไทยเพื่อส่งเสริมการพัฒนากลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ในประเทศไทยอย่างยั่งยืน' ที่เริ่มโครงการในเดือนกันยายน พ.ศ.2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้แนวคิด 'การเกษตร 4.0' ในการส่งเสริมการเติบโตในภาคอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารของไทยอย่างยั่งยืน ซึ่งโครงการระยะแรกสิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2566

กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ต้นแบบ 8 แห่ง พร้อมพืชหลัก 4 ชนิด ใน 8 อำเภอ 4 จังหวัด
ได้รับการคัดเลือกให้เป็นพื้นที่ต้นแบบในการดำเนินโครงการ

โครงการเยอรมัน-ไทย เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่จากหลายจังหวัด ดำเนินงานร่วมกันเพื่อพัฒนาหาแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ในแปลงต้นแบบแต่ละพื้นที่ รวมถึงมีการทดสอบและติดตามผลลัพธ์ของแปลงต้นแบบแต่ละพื้นที่เพื่อการประเมินผล และแนวทางปฏิบัติดังกล่าวจะสามารถนำมาปรับใช้ได้จริงหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ของการประเมิน เมื่อสิ้นสุดโครงการระยะที่ 1  แนวทางปฏิบัติที่มีศักยภาพมากพอจะถูกนำไปขยายเป็นแนวทางสำหรับการส่งเสริมการเกษตรของกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ทั่วประเทศ

รูปภาพ.png
ภาพหน้าจอ 15-02-2024 150323.png

กิจกรรมที่สำคัญในโครงการระยะที่ 1

การฝึกอบรมการเป็นผู้ประกอบการ

กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ต้นแบบ 7 ใน 8 แห่งได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด โครงการเยอรมัน-ไทยได้จัดการฝึกอบรมในหัวข้อการเป็นผู้ประกอบการขึ้นเพื่อยกระดับทักษะการเป็นผู้ประกอบการของสมาชิกแต่ละกลุ่ม เกษตรกรผู้เข้าร่วมทำการประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของตน และพัฒนาการนำเสนอแผนธุรกิจสำหรับการประกอบการในอนาคต 

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรกรเยอรมัน-เกษตรกรไทย พ.ศ.2565

ในเดือนตุลาคม ตัวแทนจากกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ต้นแบบทั้ง 8 แห่งได้จัดการประชุม ณ ฟาร์มต้นแบบมันสำปะหลัง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และหารือเกี่ยวกับการพัฒนาปรับปรุงทางการเกษตรในอนาคต ผู้จัดการกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ต้นแบบจากอำเภอภูเขียว ได้นำเสนอการพัฒนาหุ่นยนต์เครื่องพ่นสำหรับไร่อ้อย ในขณะที่กลุ่มต้นแบบอื่นๆ ก็ได้หารือถึงความพยายามในการยกระดับศูนย์การเรียนรู้ การเข้าถึงตลาดใหม่ และการปรับปรุงคุณภาพดิน 

เกษตรกรไทยศึกษาดูงาน

ณ ประเทศเยอรมนี พ.ศ.2565

โครงการเยอรมัน-ไทยร่วมมือในการสนับสนุนให้ตัวแทนของกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่จากไทยไปศึกษาดูงาน ณ ประเทศเยอรมนีในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2565 โดยมีประเด็นหลักอยู่ที่การเยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับกลุ่มเกษตรกรเยอรมันที่รวมตัวกันเพื่อบริหารจัดการงานในไร่ และทำการตลาดสำหรับผลผลิตของกลุ่มตน อีกทั้งเกษตรกรไทยยังได้ร่วมเยี่ยมชม DLG Field Days ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเมืองมันน์ไฮม์อีกด้วย

00.png
AGRITECHNICA ASIA
กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ร่วมเยี่ยมชม
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

AGRITECHNICA ASIAจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ.2565 โดยเป็นนิทรรศการการเกษตรที่ครอบคลุมทั่วทั้งเอเชียโดยมุ่งเน้นไปที่ผู้ซื้อสินค้าเกษตรรายใหญ่ที่สุดของเอเชียจากทั่วทั้งภูมิภาค

โครงการเยอรมัน-ไทยได้เชิญเครือข่ายกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่และพันธมิตรบริษัทผู้ให้บริการด้านการเกษตรเข้าร่วมงาน AGRITECHNICA ASIA เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้และการเข้าถึงเทคโนโลยีและบริการที่ทันสมัย

การประชุมสรุปผลสัมฤทธิ์โครงการ

เมื่อวันที่ 30 และ 31 สิงหาคม พ.ศ.2566 ตัวแทนจากกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ และเจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริมการเกษตรจาก 4 จังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ ได้เข้าร่วมการประชุมที่จัดขึ้น ณ จังหวัดนครราชสีมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อแบ่งปันประสบการณ์การทำงานในการปรับปรุงพัฒนาการจัดการกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่และการผลิตพืชผล

 

กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ต้นแบบแต่ละแห่งได้จัดเตรียมวิดีโอที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการดำเนินโครงการตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยเล่าถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากโครงการความร่วมมือ และนำเสนอแผนการพัฒนาปรับปรุงของกลุ่มตน เพื่อแบ่งปันข้อมูลกับกลุ่มต้นแบบรายอื่นๆด้วย

การฝึกอบรมในหัวข้อ

การเชื่อมโยงการผลิตกับการตลาด

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 โครงการความร่วมมือเยอรมัน-ไทย ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร จัดฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร จากสำนักงานใหญ่ และอีก 77 จังหวัด (ในพื้นที่ 100 แห่ง และออนไลน์ 154 แห่ง)  รวมจำนวน 254 คน ตามนโยบาย “ตลาดชั้นนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” โดยมีวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถด้านการตลาดจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน (บริษัท ซีพี เอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทย แอกโกร เอ็กซ์เชนจ์ จำกัด และเกษตรกรจากกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ที่ประสบความสำเร็จในด้านการตลาด 

bottom of page